ประโยชน์ของการสวดมนต์ (ทางการแพทย์)

สวดมนต์บำบัด

🙏 ประโยชน์ของการสวดมนต์ (ทางการแพทย์)

การสวดมนต์ ไม่ว่าศาสนาใด ก็ช่วยให้คนหายป่วยได้

ร.ศ.ดร. สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล อธิบายดังนี้...

สมองของเราเมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยคลื่นเสียงช้าๆ สม่ำเสมอ 15 นาทีขึ้นไป จะทำให้สมองสังเคราะห์สารสื่อประสาทหลายชนิด

ได้แก่ #ซีโรโทนิน (serotonin) 💖 ช่วยการเรียนรู้ ลดความเครียด ลดอาการซึมเศร้า ลดระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทอื่นๆ เช่น #เมลาโทนิน ที่มีฤทธิ์คล้ายยานอนหลับ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยยึดอายุการทำงานของเซลล์ประสาท เซลล์ร่างกาย ให้ชีวิตยืนยาวขึ้น เพิ่มภูมิต้านทาน ทำให้เซลล์สดชื่นขึ้น รวมถึง #โดปามีน มีฤทธิ์ลดความก้าวร้าว และอาการพาร์กินสัน

#ซีโรโทนิน 💖 สัมพันธ์กับการหลั่งสารสื่อประสาท เช่น อะเซทิลโคลีน ช่วยเรื่องการเรียนรู้และความจำ ช่วยขยายเส้นเลือด ทำให้ความดันลดลง และยังช่วยลดปริมาณ #อาร์กินิน #วาโซเปรสซิน ซึ่งช่วยควบคุมความก้าวร้าว ความสมดุลของน้ำ และ #ซีโรโทนิน 💖 ช่วยลดสารที่กระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไตลง ส่งผลให้ระบบประสาทส่วนกลางทำงานน้อยลง จึงรู้สึกผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง และไม่เครียด ภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น

ดังนั้น จุดสำคัญจึงอยู่ที่ร่างกายจะสามารถสร้างสารสื่อประสาทได้หรือไม่

บางคนปากสวดมนต์ แต่คิดฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่น ก็ไม่ได้ประโยชน์ และมีเสียงดังอื่นมารบกวน เพราะประสาทสัมผัสของมนุษย์รับรู้ได้ไวและอ่อนไหวมาก

รวมทั้งทางปาก ตา หู จมูก การเคลื่อนไหว และใจ ทำให้คลื่นสมองสับสน ร่างกายก็จะสร้าง #ซีโรโทนิน 💖 ได้ไม่มากพอ

อ.เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต อธิบายหลักการนี้ว่า...

เวลาเราสวดมนต์นานๆ คำแต่ละคำจะสร้างความสั่นสะเทือนไม่เท่ากัน ตามวิธีเปล่งเสียง...

การฝึกเปล่งเสียงเพื่อรักษาโรค เช่น

โอม ...... กระตุ้นหน้าผาก
ฮัม ....... กระตุ้นคอ
ยัม ....... กระตุ้นหัวใจ
ราม ....... กระตุ้นลิ่นปี่
วัม ....... กระตุ้นสะดือ
ลัม ....... กระตุ้นก้นกบ

การสวดมนต์ช่วยบำบัดอาการป่วยและโรคร้ายดังต่อไปนี้

1. หัวใจ
2.
ความดันโลหิตสูง
3.
เบาหวาน
4.
มะเร็ง
5.
อัลไซเมอร์
6.
ซึมเศร้า
7.
ไมเกรน
8.
ออทิสติก
9.
ย้ำคิดย้ำทำ
10.
โรคอ้วน
11.
นอนไม่หลับ
12.
พาร์กินสัน

🙏 สวดมนต์อย่างไรให้หายจากโรค...

1. การสวดมนต์ด้วยตัวเอง

ไม่ควรสวดมนต์หลังกินอาหารทันที ทิ้งช่วงให้ร่างกายเริ่มผ่อนคลาย อาจเป็นเวลาก่อนเข้านอน

สถานที่สงบเงียบ

สวดบทสั้น ๆ 3-4 พยางค์ 10-15 นาทีขึ้นไป ร่างกายได้หลั่งสาร #ซีโรโทนิน 💖 แต่หากสวดมนต์ด้วยบทยาวๆ จะได้ความผ่อนคลายและความศรัทธา

หลับตา สวดเสียงดัง เพื่อให้ตัวเองได้ยิน

2. การฟังผู้อื่นสวดมนต์

เป็นการเหนี่ยวนำโดยคลื่นเสียงจากผู้อื่น เช่น การฟังเสียงพระสวดมนต์ เสียงผู้นำสวดในศาสนาต่างๆ หากผู้สวดมีสมาธิ เสียงสวดนั้นจะนุ่ม ทุ้ม ทำให้เกิดคลื่นที่ช่วยเยียวยา (healing) ผู้ฟัง

แต่หากผู้สวดไม่มีสมาธิ ไม่มีความเมตตา เสียงสวดที่เกิดขึ้นอาจเป็นคลื่นขึ้นๆลงๆ จะไม่ช่วยเยียวยาอาการป่วย และฟังแล้วเสียสุขภาพได้

🙏 เลือกสวดมนต์อย่างไรดี

แล้วบทสวดที่เลือกควรใช้บทไหนดี อ.สมพรแนะนำว่า

น่าแปลกที่บทสวดในศาสนาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีจังหวะขึ้นๆ ลงๆ เหมือนจังหวะเพลง จะมีโทนเสียงแค่ไม้เอกไม้โทเท่านั้น สัก 3-4 พยางค์ มาสวดซ้ำไปมาได้ทั้งนั้น

พระพุทธศาสนา มีบทสวดมากมายหลายบท ให้เลือกใช้เช่น อิติปิโส หรือ นะโมตัสสะ นะโมพุทธายะ หรือสัพเพสัตตา หรือ โพชฌงค์ 7 ฯลฯ

เลือกท่อนใดท่อนหนึ่ง แล้วสวดวนไปวนมา

ข้อที่น่าสังเกตคือ บทสวดโพชฌงค์ 7 จะมีความแตกต่างจากบทสวดอื่นๆคือ คลื่นเสียงของบทสวดจะมีแค่เสียงสระ มีแค่ 2 จังหวะ คลื่นเสียงจากบทสวดจึงทำให้เกิดคลื่นที่เยียวยาได้ดีที่สุด

 

Odoo • A picture with a caption
Add a caption to enhance the meaning of this image.