ทำไมตื่นมาแล้วไม่สดชื่น
ปวดเมื่อยคอบ่าไหล่ ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น
ลองศึกษาดูนะครับ
ปวดเมื่อยคอบ่อย บางคนก็ไมเกรนขึ้น
ต้องแก้ 3 อย่างพร้อมกันถึงจะหาย...นะครับ
1. ปรับหมอนให้เข้ากับสรีระของคอ
เพราะถ้าทั้งคืนนอนในสรีระ ท่าที่ไม่ถูกต้อง หลอดลมจากงอออกซิเจนไม่เข้ากล้ามเนื้อก่อนจึงต้องเปลี่ยนเอาไว้ทั้งคืน ตื่นมาจึงปวดเมื่อย ตอนกลางวัน ใช้ชีวิตผิดท่า ก็ยิ่งทำให้ปวดมากขึ้น
แนะนำให้ใช้หมอน อ.มาศ ออกแบบ เพราะสามารถล้วงมือเข้าไปปรับเพิ่มลดความหนาจุดต่างๆในหมอน ให้เข้ากับสรีระของแต่ละคนจริงๆ
2. ปรับเลือดให้เป็นด่าง
เพื่อไม่ให้กรดตกค้างในหลอดเลือดและกล้ามเนื้อช่วงที่คอหักงอ ซึ่งเป็นที่มาของการอักเสบ และปวดเมื่อย
3 หาหมอนวด หรือ นักกายภาพ
ให้ช่วยบีบคลายกล้ามเนื้อเพื่อให้กรดที่ค้างอยู่ในกล้ามเนื้อหลอดเลือด ระบายออก
เมื่อกินอาหารหรือยาบำรุงกลุ่มที่เป็นด่าง ตามข้อ 2 จะได้เข้าไปแทนที่ สารด่างจะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว
ถ้ารักษาให้เลือดเป็นด่างเอาไว้ทุกวันก็จะไม่เป็นอีก
แต่ถ้าไม่ปรับเลือดให้เป็นด่าง พอไปหาหมอนวดหรือนักกายภาพ กล้ามเนื้อก็จะคลายตัวชั่วคราว หากเลือดยังเป็นกรด ก็จะกัดกล้ามเนื้อและหลอดเลือดให้หดเกร็ง จึงกลับมาปวดเมื่อยใหม่ภายในไม่กี่วัน
แนะนำให้วิธีกินเพื่อปรับเลือดให้เป็นด่าง
ซื้อโซเดียมไบคาร์บอเนต แบบผง ซึ่งเป็นเกลือธรรมชาติชนิดหนึ่ง เพื่อปรับเลือดให้เป็นด่าง
มาชงตอนเช้าและตอนเย็น ครั้งละครึ่งช้อนชา ละลายน้ำครึ่งแก้วถึง 1 แก้ว
ใส่เกลือหิมาลัย เข้าไป 1 ส่วน 3 ช้อนชา เพราะเกลือหิมาลัยก็มีฤทธิ์เป็นด่างและมีแร่ธาตุถึง 84 ชนิด
(ซื้อได้จากซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป)
แล้วบีบมะนาว ใส่ลงไปครึ่งลูก เพื่อตัดลดความเค็ม และเพิ่มวิตามินซีพร้อมทั้งสารไบโอฟลาโวนอยด์
ให้กิน ตอนเช้าและตอนเย็น พร้อม แมกนีเซียม 1 เม็ด และยาบำรุงชนิดอื่นได้เลย
เพราะแมกนีเซียมนอกจากมีฤทธิ์เป็นด่างแล้ว ยังช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว เม็ดเลือดไม่เกาะกัน แก้ปวดเมื่อยคอบ่าไหล่ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหัว ไมเกรน หลอดเลือดยืดหยุ่น ลดความดันโลหิตได้บางส่วน และช่วยให้ป้องกันเป็นโรคกระดูกพรุน
อาหารเสริมที่ทำให้เลือดเป็นด่าง และมีสารอาหารกลุ่มแร่ธาตุครบถ้วน คือ แร่ธาตุสูตรธรรมชาติ ชื่อ "อัลตร้ามิน" ให้กิน 2 เม็ดเช้าเย็น และวิตามินรวม 2 เม็ดเช้าเย็น
ถ้ามีอาการปวดเมื่อย เหน็บชา แสดงว่าขาดมาก ให้ทานแมกนีเซียม อีก 1 เม็ดเช้าเย็น ด้วยก็จะยิ่งดี
ทานจนกว่าจะตรวจน้ำลายและเลือดออกมาแล้วได้ค่าความเป็นด่าง แล้วค่อยเพิ่มลดตามความเหมาะสม ก็จะทราบว่าปริมาณรับประทานขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับร่างกายของตัวเอง
วิธีการตรวจว่าเลือดเราเป็นกรดหรือไม่ ทำได้ง่ายๆโดยใช้กระดาษ pH หรือกระดาษลิตมัส
โดยแตะที่น้ำลายตอนตื่นนอน 1 ชิ้น และแตะที่ปัสสาวะ อีก 1 ชิ้น เทียบสีกับข้างกล่อง ให้ตรงกับเลข 7-8
( 7 = เป็นกลาง / น้อยกว่า 7 คือเป็นกรด / มากกว่า 7 คือเป็นด่าง )